วันพุธที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2551

Christmas

ประวัติวันคริสต์มาส
คำว่า คริสต์มาส ภาษาอังกฤษเขียนว่า Christmas ดังนั้นอย่าลืม "ต์" อยู่ที่คำว่า คริสต์ (Christ) ไม่ใช่คำว่า"มาส" (Mas) Christmas มาจากภาษาอังกฤษ โบราณว่า Christes Maesse แปลว่า บูชามิสซาของพระคริสตเจ้า โดยพบคำนี้ครั้งแรกในเอกสารโบราณในปี ค.ศ.1038 ภายหลังแปรเปลี่ยนมาเป็นคำว่า Christmas ประวัติความเป็นมาของวันคริต์มาส ซึ่งเป็นวันเกิดของพระเยซูนั้น ตามหลักฐานในพระคัมภีร์บันทึกไว้ว่า พระเยซูเจ้าประสูติในสมัยที่จักรพรรดิซีซ่าร์ ออกัสตัส แห่งโรมัน ซึ่งทรงสั่งให้จดทะเบียนสำมะโนครัวทั่วทั้งแผ่นดิน โดยฝ่ายคีรีนิอัส เจ้าเมืองซีเรียก็ขานรับนโยบาย อย่างไรก็ตามในพระคัมภีร์ ไม่ได้ระบุว่า พระเยซูประสูติวันหรือเดือนอะไร ด้านนักประวัติศาสตร์วิเคราะห์ว่า เดิมทีวันที่ 25 ธันวาคม เป็นวันที่จักรพรรดิเอาเรเลียนแห่งโรมันกำหนดให้เป็นวันฉลองวันเกิดของสุริยเทพ โดยตั้งแต่ปีค.ศ.274 ชาวโรมันซึ่งส่วนใหญ่นับถือเทพเจ้าฉลองวันนี้เสมือนว่า เป็นวันฉลองของพระจักรพรรดิไปในตัวด้วย เพราะจักรพรรดิก็เปรียบเสมือนดวงอาทิตย์ ที่ให้ความสว่างแก่ชีวิตมนุษย์ แต่ชาวคริสต์ที่อยู่ในจักรวรรดิโรมัน รวมถึงชาวโรมันที่เปลี่ยนไปนับถือคริสต์อึดอัดใจที่จะฉลองวันเกิดของสุริยเทพ จึงหันมาฉลองการบังเกิดของพระเยซูเจ้าแทน หลังจากที่ชาวคริสต์ถูกควบคุมเสรีภาพทางศาสนาตั้งแต่ปีค.ศ.64-313 จนถึงวันที่ 25 ธันวาคม ปีค.ศ.330 ชาวคริสต์จึงเริ่มฉลองคริสต์มาสอย่างเป็นทางการและเปิดเผย สำหรับองค์ประกอบในงานฉลองวันคริสต์มาสมีความเป็นมาเช่นกัน เริ่มที่คำอวยพรว่า Merry Christmas สุขสันต์วันคริสต์มาส คำว่า Merry ในภาษาอังกฤษโบราณ แปลว่า สันติสุขและความสงบทางใจ จึงเป็นคำที่ใช้อวยพรคนอื่น ขอให้เขาได้รับสันติสุข และความสงบทางใจ เนื่องในโอกาสเทศกาลคริสต์มาส ต่อมาคือ "เพลง" ที่ใช้เฉลิมฉลองทั้งจังหวะช้าและจังหวะสนุกสนาน ส่วนใหญ่แต่งในยุคพระราชินีวิกตอเรียแห่งอังกฤษ (ค.ศ.1840-1900)ปัจจุบันแพร่หลายไปทั่วโลกโดยแปลเป็นภาษาต่างๆ มากมาย สำหรับ "ซานตาคลอส" เซนต์นิโคลัสแห่งเมืองมีรา สมัยศตวรรษที่ 4 ได้รับการขนานนามให้เป็นซานตาคลอสคนแรก เพราะวันหนึ่งท่านปีนขึ้นไปบนหลังคาบ้านของเด็กหญิงยากจนคนหนึ่งแล้วทิ้งถุงเงินลงไปทางปล่องไฟ บังเอิญถุงเงินหล่นไปทางถุงเท้าที่เด็กหญิงแขวนตากไว้ข้างเตาผิงพอดี ปิดท้ายที่ต้นคริสต์มาส หรือต้นสนที่นำมาประดับประดาด้วยดวงไฟหลากสีสัน ต้องย้อนไปศตวรรษที่ 8 เมื่อเซนต์บอนิเฟส มิชชันนารีชาวอังกฤษที่เดิน
ทางไปประกาศเรื่องพระเจ้าในเยอรมนี ได้ช่วยเด็กที่กำลังจะถูกฆ่าเป็นเครื่องสังเวยบูชาที่ใต้ต้นโอ๊ก โดยเมื่อโค่นต้นโอ๊กทิ้งก็ได้ พบต้นสนเล็กๆ ต้นหนึ่งขึ้นอยู่โคนต้นโอ๊ก ท่านจึงขุดให้คนที่ร่วมพิธีกรรมเหล่านั้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของชีวิต และตั้งชื่อว่า ต้นกุมารพระคริสต์ ต่อมามาร์ติน ลูเธอร์ ผู้นำคริสตจักรชาวเยอรมันจะตัดต้นสนไปตั้งในบ้านในเดือนธันวาคม ปี ค.ศ.1540 หลังจากนั้นในศตวรรษที่ 19 ต้นคริสต์มาสจึงเริ่มแพร่ไปสู่ประเทศอังกฤษและทั่วโลก คริสต์มาส คือการฉลองการบังเกิดของพระเยซูเจ้า เราเฉลิมฉลองกันในวันที่ 25 ธันวาคม คำว่า คริสต์มาส เป็นคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ Christmas ซึ่งมาจากภาษาอังกฤษโบราณว่า Christes Maesse ที่แปลว่า บูชามิสซาของพระคริสตเจ้า เพราะการร่วมพิธีมิสซา เป็นประเพณี สำคัญที่สุด ที่ชาวคริสต์ถือปฎิบัติกันในวันคริสต์มาส คำว่า Christes Maesse พบครั้งแรกในเอกสาร โบราณ เป็นภาษาอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1038 และคำนี้ก็แปรเปลี่ยนมาเป็นคำว่า Christmas คำทักทายที่เราได้ฟังบ่อย ๆ ในเทศกาลนี้คือ Merry Christmas คำว่า Merry ในภาษาอังกฤษโบราณ แปลว่า สันติสุขและความสงบทางใจ เพราะฉะนั้น คำนี้จึงเป็นคำที่ใช้อวยพร คนอื่น ขอให้เขาได้รับสันติสุข และความสงบทางใจ เนื่องในโอกาสเทศกาลคริสต์มาส
ซานตาคลอส
เป็นจุดเด่นหรือสัญลักษณ์ ที่เด็กและผู้คนนิยมมากที่สุด ในเทศกาลคริสต์มาส แต่แท้ที่จริงแล้ว ซานตาคลอส แทบจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเทศกาลนี้เลย ชื่อซานตาคลอส มาจากชื่อนักบุญนิโคลาส ซึ่งเป็นนักบุญที่ชาวฮอลแลนด์นับถือ เป็นนักบุญองค์อุปถัมภ์ของเด็กๆ นักบุญองค์นี้ เป็นสังฆราชของไมรา (อยู่ในประเทศตุรกี ปัจจุบัน) มีชีวิตอยู่ราวศตวรรษที่ 4 เมื่อชาวฮอลแลนด์กลุ่มหนึ่ง อพยพไปอยู่ในสหรัฐ ก็ยังรักษาประเพณีนี้ไว้ คือ ฉลองนักบุญนิโคลาส ในวันที่ 6 ธันวาคม ซึ่งหมายถึง นักบุญนี้จะมาเยี่ยมเด็กๆ และเอาของขวัญมาให้ เด็กอื่นๆ ที่ไม่ใช่ลูกหลานของชาวฮอลแลนด์ ที่อพยพมา ก็รู้สึกอยากมีส่วนร่วมในประเพณีแบบนี้บ้าง เพื่อรับของขวัญ ประเพณีนี้ จึงเริ่มเป็นที่รู้จัก และแพร่หลายไปในอเมริกา โดยมีการเปลี่ยนแปลง บางอย่างคือ ชื่อนักบุญนิโคลาส ก็เปลี่ยนเป็นซานตาคลอส และแทนที่จะเป็นสังฆราช ซึ่งเป็นนักบุญ องค์นั้น ก็กลายเป็นชายแก่ที่อ้วน ใส่ชุดสีแดง อาศัยอยู่ที่ขั้วโลกเหนือ มีเลื่อนเป็นพาหนะ มีกวาง เรนเดียร์ลาก และจะมาเยี่ยมเด็กทุกคนในโลกนี้ ในโอกาสคริสต์มาส โดยลงมาทางปล่องไฟ ของบ้าน เพื่อเอาของขวัญมาให้เด็กเหล่านั้น อันที่จริง ซานตาคลอสเป็นรูปแบบที่น่ารัก เหมาะสำหรับเป็นนิยายให้เด็กๆ เชื่อ แต่อาจจะทำให้คนทั่วไปหันมาสนใจ ให้ความสำคัญในตัวนิยายนี้ แทนการบังเกิดของพระเยซูเจ้า ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางของเทศกาลคริสต์มาสนี้

ต้นคริสต์มาส
ในสมัยโบราณ "ต้นคริสต์มาส" หมายถึง ต้นไม้ในสวนสวรรค์ ซึ่งอาดัมและเอวาไปหยิบ ผลไม้มากิน และทำบาป ไม่เชื่อฟังพระเจ้า (ปฐก.3:1-6) ตั้งแต่ศตวรรษที่ 11 ชาวคริสต์แสดงละครที่ หน้าวัด ถึงความหมายของคริสต์มาสและเอาต้นไม้ต้นหนึ่งไว้ตรงกลาง เพื่อประดับฉาก แสดงถึงบาปกำเนิดของอาดัมและเอวา ต้นไม้ที่ใช้เป็นต้นสน เนื่องจากเป็นต้นไม้ ที่หาง่ายที่สุด ในประเทศ เหล่านั้น การแสดงละครคริสต์มาสแบบนี้ มีมาเป็นเวลาช้านานหลายร้อยปี จนถึงศตวรรษที่ 15 พระสังฆราชหลายแห่งได้ห้ามแสดง เนื่องจากการแสดงนั้น กลายเป็นการเล่นเหมือนลิเก ล้อชาวบ้าน ผู้ปกครองบ้านเมือง และศาสนา ซึ่งไม่ตรงกับบรรยากาศของการฉลอง ชาวบ้านรู้สึกเสียดาย ที่ไม่มีโอกาส ดูละครสนุกๆ แบบนั้นอีกจึงไปสนุกกันที่บ้านของตนโดยเอาต้นไม้มาไว้ที่บ้าน หลังจากนั้น ก็เริ่มมีการแขวนลูกแอปเปิ้ล ขนมและของขวัญอย่างที่เห็นอยู่ ทุกวันนี้ .....นอกจากนั้น ชาวเยอรมันยังมีประเพณีอีกอย่างหนึ่งคือ มีการจุดเทียนหลายเล่มเป็นรูปปิรามิด ไว้ตลอดคืนคริสต์มาส โดยมีดาวของดาวิดที่ยอดปิรามิด ซึ่งประเพณีที่จะแขวนของขวัญและขนม ก็ได้รวมกับประเพณีของชาวเยอรมันนี้ มาตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 โดยเอาเทียนมาไว้ที่ต้นไม้ เป็นรูปทรงปิรามิด นี่เป็นที่มาของประเพณีปัจจุบัน ที่มีการแขวนของขวัญและไฟกระพริบไว้ที่ต้นคริสต์มาสและมีดาวของดาวิดไว้ที่สุดยอด ประเพณีนี้ เป็นที่นิยมชมชอบของชาวตะวันตกอยู่มาก แม้ว่าประเพณีการตั้งต้นคริสต์มาส มีความเป็นมาดังกล่าว ชาวคริสต์ในสมัยนี้ ก็ยังนิยมทำกันอยู่ เพราะเห็นว่า มีความหมายถึงพระเยซูเจ้า ผู้เปรียบเสมือนต้นไม้แห่งชีวิต (ปฐก.2:9) ที่เขียวสดเสมอในทุกฤดูกาล ซึ่งหมายถึง นิรันดรภาพของพระเยซูเจ้า และนอกจากนั้นยังหมายถึง ความสว่างของพระองค์ เสมือนแสงเทียนที่ส่องในความมืด ทั้งยังหมายถึง ความชื่นชมยินดี และความสามัคคีที่พระเยซูเจ้าประทานให้ เพราะต้นไม้นั้น เป็นจุดรวมของครอบครัวในเทศกาลนั้น

วันจันทร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551

การบ้านภาษาไทย

นิทานมงคลคำฉันท์
เรื่อง นันทวิสาลชาดก
ในอดีตกาลในนครตักสิลาพระโพธิสัตว์ถือกำเนิดเป็นโคของพราหมณ์คนหนึ่งซึ่งตั้งชื่อว่า
นันทิวิสาลพราหมณ์ได้ให้ความรักและเลี้ยงดูโคนันทิวิสาลอย่างดี เมื่อโคเติบใหญ่ขึ้นก็มีความคิดว่า พราหมณ์ได้ให้เลี้ยงดูตนเป็นอย่างดียิ่ง สมควรจะทำการตอบแทน วันหนึ่ง โคนันทิวิสาลจึงแจ้งความประสงค์แก่พราหมณ์และให้พราหมณ์ไปท้าพนัน โควินทกเศรษฐีว่าโคนันทิวิสาลสามารถลากเกวียนที่ผูกติดต่อกันได้ร้อยเล่มเกวียน พราหมณ์จึงไปท้าพนันกับเศรษฐีด้วยทรัพย์พันหนึ่ง เมื่อตกลงกันแล้วเขาจึงเอาเกวียนบรรทุกด้วย กรวดและก้อนหินเต็มทั้งร้อยเล่มแล้วตั้งเป็นแถวผูกเชือกขันชะเนาะให้ติดเนื่องกันเป็นคันเดียว เสร็จแล้วก็อาบน้ำให้โคนันทิวิสาล เทียมโคตัวเดียวที่แอกเกวียนเล่มแรก ส่วนตนเองก็ขึ้นนั่งที่แอกเกวียน แล้วยกปฏักขึ้นตวาดด้วยคำหยาบเป็นต้นว่า เฮ้ยเจ้าโคโกง เจ้าจงลากไป เฮ้ยเจ้าโคโกง เจ้าจงพาไปให้ได้ โคนันทิวิสาลได้ยินเช่นนั้นจึงคิดว่าท่านพราหมณ์นี้เรียกเราผู้ไม่โกงเลยว่าเป็นผู้โกง จึงยืนเฉยเสีย พราหมณ์จึงแพ้พนันเศรษฐี เมื่อกลับถึงบ้านก็นอนเศร้าโศกอยู่ ส่วนโคนันทิวิสาลเมื่อกลับมาถึงบ้านเห็นพราหมณ์เศร้าโศก จึงเข้าไปหาแล้วกล่าวว่า ท่านพราหมณ์ ตลอดเวลาที่เราอยู่ที่นี้ ท่านให้ได้การเลี้ยงดูเราอย่างดี และเราก็ไม่เคยกระทำความเดือดร้อนใด ๆ ให้แก่ท่าน ไฉนท่านจึงกล่าวว่าเราเป็นผู้โกงไปได้ เอาเถอะ ท่านจงไปท้าพนันกับเศรษฐีอีกครั้งและอย่าเรียกเราว่าเป็นโคโกงอีกเลย พราหมณ์ได้ฟังดังนั้นจึงไปท้ากับเศรษฐีด้วยทรัพย์เป็นทวีคูณ เมื่อถึงวันกำหนดได้ผูกเกวียนร้อยเล่มให้ติดเป็นเล่มเดียวกัน แล้วเทียมเข้าที่แอกเกวียนเล่มต้นนั้น เมื่อเทียมเสร็จแล้วจึงขึ้นนั่งที่เอกเกวียนแล้วลูบหลังโคพร้อมกล่าวว่า พ่อมหาจำเริญ จงลากไป พ่อมหาจำเริญ จงฉุดไปเถิด ฝ่ายโคนันทิวิสาลได้ยินเช่นนั้น ก็สามลากเกวียนร้อยเล่มนั้นจากเกวียนที่อยู่ท้ายสุดไปตั้งอยู่ที่ตรงเกวียนเล่มต้น ทำให้พราหมณ์ชนะพนันเศรษฐี
ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง การกล่าววาจาที่ไม่สุภาพย่อมไม่มีผู้ใดอยากฟังและทำตาม ดังในมงคลสูตรที่ ๑o ที่ว่า กล่าววาจาสุภาษิต(คือรู้จักใช้วาจาพูดให้เป็นผลดี) ย่อมมีผู้ฟังและทำตาม

วันพุธที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2551

ข้าพระพุทธเจ้าขอถวายพระพรสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุยเดชมหาราช

ข้าพระพุทธเจ้าขอถวายพระพรสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุยเดชมหาราชเนื่องในวันพระราชสมภพ