วันจันทร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551

การบ้านภาษาไทย

นิทานมงคลคำฉันท์
เรื่อง นันทวิสาลชาดก
ในอดีตกาลในนครตักสิลาพระโพธิสัตว์ถือกำเนิดเป็นโคของพราหมณ์คนหนึ่งซึ่งตั้งชื่อว่า
นันทิวิสาลพราหมณ์ได้ให้ความรักและเลี้ยงดูโคนันทิวิสาลอย่างดี เมื่อโคเติบใหญ่ขึ้นก็มีความคิดว่า พราหมณ์ได้ให้เลี้ยงดูตนเป็นอย่างดียิ่ง สมควรจะทำการตอบแทน วันหนึ่ง โคนันทิวิสาลจึงแจ้งความประสงค์แก่พราหมณ์และให้พราหมณ์ไปท้าพนัน โควินทกเศรษฐีว่าโคนันทิวิสาลสามารถลากเกวียนที่ผูกติดต่อกันได้ร้อยเล่มเกวียน พราหมณ์จึงไปท้าพนันกับเศรษฐีด้วยทรัพย์พันหนึ่ง เมื่อตกลงกันแล้วเขาจึงเอาเกวียนบรรทุกด้วย กรวดและก้อนหินเต็มทั้งร้อยเล่มแล้วตั้งเป็นแถวผูกเชือกขันชะเนาะให้ติดเนื่องกันเป็นคันเดียว เสร็จแล้วก็อาบน้ำให้โคนันทิวิสาล เทียมโคตัวเดียวที่แอกเกวียนเล่มแรก ส่วนตนเองก็ขึ้นนั่งที่แอกเกวียน แล้วยกปฏักขึ้นตวาดด้วยคำหยาบเป็นต้นว่า เฮ้ยเจ้าโคโกง เจ้าจงลากไป เฮ้ยเจ้าโคโกง เจ้าจงพาไปให้ได้ โคนันทิวิสาลได้ยินเช่นนั้นจึงคิดว่าท่านพราหมณ์นี้เรียกเราผู้ไม่โกงเลยว่าเป็นผู้โกง จึงยืนเฉยเสีย พราหมณ์จึงแพ้พนันเศรษฐี เมื่อกลับถึงบ้านก็นอนเศร้าโศกอยู่ ส่วนโคนันทิวิสาลเมื่อกลับมาถึงบ้านเห็นพราหมณ์เศร้าโศก จึงเข้าไปหาแล้วกล่าวว่า ท่านพราหมณ์ ตลอดเวลาที่เราอยู่ที่นี้ ท่านให้ได้การเลี้ยงดูเราอย่างดี และเราก็ไม่เคยกระทำความเดือดร้อนใด ๆ ให้แก่ท่าน ไฉนท่านจึงกล่าวว่าเราเป็นผู้โกงไปได้ เอาเถอะ ท่านจงไปท้าพนันกับเศรษฐีอีกครั้งและอย่าเรียกเราว่าเป็นโคโกงอีกเลย พราหมณ์ได้ฟังดังนั้นจึงไปท้ากับเศรษฐีด้วยทรัพย์เป็นทวีคูณ เมื่อถึงวันกำหนดได้ผูกเกวียนร้อยเล่มให้ติดเป็นเล่มเดียวกัน แล้วเทียมเข้าที่แอกเกวียนเล่มต้นนั้น เมื่อเทียมเสร็จแล้วจึงขึ้นนั่งที่เอกเกวียนแล้วลูบหลังโคพร้อมกล่าวว่า พ่อมหาจำเริญ จงลากไป พ่อมหาจำเริญ จงฉุดไปเถิด ฝ่ายโคนันทิวิสาลได้ยินเช่นนั้น ก็สามลากเกวียนร้อยเล่มนั้นจากเกวียนที่อยู่ท้ายสุดไปตั้งอยู่ที่ตรงเกวียนเล่มต้น ทำให้พราหมณ์ชนะพนันเศรษฐี
ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง การกล่าววาจาที่ไม่สุภาพย่อมไม่มีผู้ใดอยากฟังและทำตาม ดังในมงคลสูตรที่ ๑o ที่ว่า กล่าววาจาสุภาษิต(คือรู้จักใช้วาจาพูดให้เป็นผลดี) ย่อมมีผู้ฟังและทำตาม

ไม่มีความคิดเห็น: