วรรณคดีสมัยกรุงศรีอยุธยา
กรุงศรีอยุธยามีอายุยาวนานถึง ๔๑๗ ปี ช่วงเวลาที่บ้านเมืองรุ่งเรืองในด้านต่าง ๆ พอที่จะเป็นปัจจัยให้เกิด วรรณคดีอยู่เฉพาะในสมัยกรุงศรีอยุธยาต้อนต้นบ้านเมืองเจริญก้าวหน้าทั้งในด้านการปกครอง การทหาร ศาสนา และศิลปกรรมในรัชกาลสมด็จพระบรมไตรโลกนาถและสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ทางวรรณคดีปรากฏหลักฐาน ชัดเจนว่า แต่งมหาชาติคำหลวง เมื่อ พ.ศ.๒๐๒๕ตรงกับรัชกาลสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ส่วนลิลิตยวนพ่าย ก็แต่งขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์พระองค์นี้จึงอาจแต่งในรัชกาลของพระองค์ หรือภายหลังเพียงเล็กน้อย คือ รัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒
นอกจากนี้วรรณคดีสำคัญเรื่องอื่น ๆ เช่น ลิลิตพระลอ โคลงกำสรวล โคลงทวาทศ-มาศและโคลงหริภุญชัย เมื่อพิจารณาถึงลักษณะคำประพันธ์ และถ้อยคำที่ใช้ก็น่าเกิดสมัยร่วมหรือระยะเวลาใกลเคียงกับมหาชาติคำหลวง และลิลิตยวนพ่ายหลังจากรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ บ้านเมืองไม่สงบสุขเนื่องจากการทำสงครามกับข้าศึก ภายนอกและแตกสามัคคีภายในเป็นเหตุให้วรรณคดีว่างเว้นไปเป็นเวลาประมาณหนึ่งศตวรรษ วรรณคดีเรื่องแรกที่ ปรากฏหลักฐานหลังรัชกาลสมเด็จพระรามาธิปดีที่ ๒ คือ กาพย์มหาชาติ ซึ่งสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมพระราชนิพนธ์ ขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๑๗๐ ต่อจากนั้นประมาณ ๓๐ ปี บ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองสามารถเป็นรากฐานให้เกิดวรรณคดีได้อีกระยะเวลาหนึ่งในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราชและสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
ลักษณะวรรณคดีในสมัยอยุธยาตอนต้น
วรรณคดีสำคัญในสมัยอยุธยาตอนต้นส่วนใหญ่มีเรื่องเกี่ยวกับศาสนาพิธีกรรมและพระมหากษัตริย์ จึงมีเนื้อเรื่องคล้ายวรรณคดีสุโขทัยส่วนลักษณะการแต่งต่างกับวรรณคดีสุโขทัยเป็นอย่างมากวรรณคดีในสมัยนี้แต่งด้วยร้อยกรอง ทั้งสิ้นคำประพันธ์ที่ใช้เกือบทุกชนิด คือ โคลง ร่าย กาพย์ และฉันท์ ขาดแต่กลอนส่วนใหญ่แต่งเป็นลิลิต คำบาลี่สันสกฤตและเขมรเข้ามาปะปนในคำไทยมากขึ้น
วรรณคดีสำคัญได้แก่
รัชกาลสมเด็จพระรามาธิปดีที่ ๑
๑.ลิลิตโองการแข่งน้ำ
รัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
๒.ลิลิตยวนพ่าย
๓.มหาชาติคำหลวง
วรรณคดีที่สันฐานว่าแต่งในสมัยอยุธยาตอนต้น ได้แก่
๔.ลิลิตพระลอ
๕.โคลงกำสรวล
๖.โคลงทวาทศมาศ
วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลาง
เมื่อสิ้นรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแล้ว สมเด็จพระรามาธิปดีที่๒เสวยราชย์ต่อมาเป็นเวลาถึง ๔๐ ปี (พ.ศ.๒๐๓๒-๒๐๗๒)บ้านเมืองสงบสุขและศิลปกรรมเจริญมากสันนิษฐานว่าวรรณคดีสำคัญบางเรื่องเกิดขึ้นในช่วงเวลานี้หลังจากวรรณคดีได้ว่างเว้นไปเป็นเวลานานเกือบร้อยปีเนื่องจากบ้านเมืองไปปกติ ต้องทำสงครามกับพม่า เริ่มแต่รัชกาลสมเด็จพระไชยราชาธิราช จนเสียกรุงแก่พม่าในรัชกาลสมเด็จพระมหินทราธิราชถึงสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกู้เอกราชได้ก็ต้องทำสงครามขับเคี่ยวกับพม่าและเขมรตลอดรัชกาล นอกจากนี้เมื่อสิ้นรัชกาลสมเด็จพระเอกาทศรถก็เกิดความไม่สงบสุขภายใน พระราชโอรสของสมเด็จพระเอกาทศรถ คือ พระศรีศิลป์ ทรงชิงราชสมบัติปลงพระชนม์เจ้าฟ้าศรีเสาวภาคคย์แล้วขึ้นครองราชย์ ทรงพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม กษัตริย์พระองค์นี้ผนวชมาก่อน ได้สมณศักดิ์เป็นที่พระพิมลธรรม จึงเอาพระใส่ในพระพุทธศาสนา และทรงพระราชนิพนธ์กาพย์มหาชาติ นับเป็นวรรณคดีเรื่องแรกในสมัยอยุธยาตอนปลาย เมื่อสิ้นรัชกาลสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมแล้วบ้านเมืองก็เกิดความวุ่นวายภายในอีก สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ทรงชิงราชสมบัติจากพระราชโอรสของพระเจ้าทรงธรรม แล้วทรงปรายดาภิเภกเป็นกษัตริย์ต่อในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ได้เกิดเหตุการณ์ที่มีส่วนทำลายวรรณคดีของชาติ กล่าวคือพระเจ้าลูกเธอฝ่ายในพระองค์หนึ่งสิ้นพระชนม์ เชื่อกันว่าต้องคุณ จึงเกิดเผาตำราไสยศาสตร์ เพราะเกรงจะเกิดโทษ เป็นเหตุให้วรรณคดีสำคัญต่าง ๆพลอยถูกทำลายไปด้วย
ยุคทองแห่งวรรณคดี
รัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้รับยกย่องว่าเป็นยุคทองแห่งวรรณคดี เพราะมีนักปราชญ์ราชกวีและวรรณคดีเกิดขึ้นมากมายในเวลาเพียวรัชกาลเดียวนี้ นับแต่องค์ประมุข คือ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช จนถึงบุคคลชั้นผู้น้อยทั้งชายหญิง เช่น นาประตู ต่างพากันสนใจวรรณคดีและสามารถสร้างสรรค์วรรณคดีสำคัญหลายเรื่อง ราชสำนักของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเป็นที่ประชุมกวีนักปราชญ์ โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นองค์อุปถัมภ์สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เสวยราชย์ระหว่าง พ.ศ.๒๑๙๙ ถึง พ.ศ.๒๒๓๑ พระองค์ทรงพระปรีชาสมารถในการปกครอง และทรงปราดเปรื่องในการกวี กรุงศรีอยุธยาจึงมีความเจริญรุ่งเรืองสูงสุดอีกช่วงเวลาหนึ่ง มีการทำสงคราม รบชนะเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ.๒๒๐๕ ต่อจากนั้นบ้านเมืองก็สงบราบคาบตลอดรัชกาล ทรงเวลาทะนุบำรุงบ้านเมือง ศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรมให้เจริญรุ่งเรืองด้านความสัมพันธ์กับต่างประเทศได้มีชนชาติต่างศาสนาเข้ามาค้าขายและเผยแพร่ศาสนามากเป็นพิเศษ เช่น ฮอลันดา อังกฤษ และฝรั่งเศส สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงส่งราชทูตไปเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ของฝรั่งเศส และทรงแต่งตั้งชาวกรีกผู้หนึ่งเป็นเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ มีตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน ทรงสนพระทัยความเจริญอย่างยุโรป เช่น โปรดฯให้มีประปาที่พระราชวังลพบุรี คณะสอนศาสนาคริสต์ ก็ได้รับพระราชทานเสรีภาพละพระบรมราชานุเคราะห์ ให้เผยแพร่ศาสนาคริสต์ได้อย่างกว้างขวาง โดยตั้งโรงพยาบาลรักษาคนไข้ และตั้งโรงเรียนสอนหนังสือแก่เด็กไทยควบคู่กับศาสนาคริสต์ การเกี่ยวข้องกับฝรั่งเศสดังกล่าวมีส่วนทำให้คนไทยตื่นตัวกระตือรือร้นหันมาสนใจหนังสือไทยพุทธศาสนาของตนเองมากขึ้น หนังสือเรียนภาษาไทยเล่มแรก คือ จินดามณี ก็เกิดขึ้นในช่วงเวลานี้
๑.ความเจริญของบ้านเมือง สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงเป็นกษัตริย์ที่ทรงพระปรีชาสามารถและทรงชุบเลี้ยงข้าราชกาลที่มีความรู้ความสามารถในด้านต่าง ๆ เช่น นักรบ นักการทูต และสถาปนิก ทั้งที่เป็นคนไทยและชาวต่างประเทศ เมื่อบ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้า สมบูรณ์พูนสุขประกอบกับความสนพระทัยในทางวรรณคดีเป็นพิเศษของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช วรรณคดีอย่างยิ่งขึ้นไปด้วย
๒.ความตื่นตัวของคนไทย ในรัชกาลนี้ยุโรปเข้ามาเผยแพร่ศาสนาคริสต์เป็นอันมากคนไทยจึงต้องมาตื่นตัวหันมาสนใจศึกษาภาษาและศาสนาของตนเอง
กวีและวรรณคดีที่สำคัญ ก่อนยุคแห่งวรรณคดี
๑. สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม
- กาพย์มหาชาติ
กวีและวรรณคดีที่สำคัญ ยุคทองแห่งวรรณคดี
๑. พระมหาราชครู
- เสือโคคำฉันท์
- สมุทรโฆษคำฉันท์(ต้อนต้น)
๒. สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
- สมุทรโฆษคำฉันท์(ต่อจากของพระมหาราชครู)
- โคลงพาลีสอนน้อง
- โคลงทศรถสอนพระราม
- โคลงราชสวัสดิ์
๓. พระโหราธิบดี
- จินดามณี
- พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา(ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ)
๔. ศรีปราชญ์
- อนิรุทธ์คำฉันท์
- โคลงเบ็ดเตล็ด
๕. พระศรีมโหสถ
- กาพย์ห่อโคลง
- โคลงเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
- โคลงอักษรสาม
- โคลงนิราศนครสวรรค์
๖. ขุนเทพกวี
- ฉันท์ดุษฏีสังเวยกล่อมช้าง
วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนปลาย (พ.ศ. ๒๒๗๕-พ.ศ. ๒๓๑๐)
กวีและวรรณคดีสำคัญสมัยอยุธยาตอนปลาย
๑. พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ งานที่ทรงพระราชนิพนธ์ คือ
- โคลงชะลอพระพุทธไสยาสน์
๒. เจ้าฟ้าอภัย งานที่ทรงนิพนธ์ คือ
- โคลงนิราศ
๓. เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร งานที่ทรงนิพนธ์ คือ
- นันโทปนันทสูตรคำหลวง
- พระมาลัยคำหลวง
- กาพย์เห่เรือ
- กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง
- กาพย์ห่อโคลงนิราศ
- บทเห่เรื่องกากี เห่สังวาส เห่ครวญ และเพลงยาว
๔. เจ้าฟ้ากุณฑล งานที่ทรงนิพนธ์ คือ
- ดาหลัง (อิเหนาใหญ่)
๕. เจ้าฟ้ามงกุฎ งานที่ทรงนิพนธ์ คือ
- อิเหนา (อิเหนาเล็ก)
๖. พระมหานาควัดท่าทราย งานที่แต่ง คือ
- ปุณโณวาทคำฉันท์
- โคลงนิราศพระบาท
๗. หลวงศรีปรีชา (เซ่ง) งานที่แต่ง คือ
- กลบทสิริวิบุลกิติ
เมื่อสิ้นรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช กรุงศรีอยุธยาเริ่มระส่ำระสาย เนื่องจากการชิงราชสมบัติ เกิดกบฏและเกิดสงครามกับนครศรีธรรมราชและกัมพูชาจึงทำให้วรรณคดีชะงักงันเป็นเวลาเกือบครึ่งศตวรรษต่อมาได้มีโอกาสรุ่งเรืองขึ้นระยะหนึ่งเมื่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศได้ครองครองราชสมบัติทั้งนี้เพราะพระมหากษัตริย์พระองค์นี้เอาพระทัยใส่ในการศึกษาเล่าเรียนของกุลบุตรเป็นพิเศษผู้ถวายตัวเข้ารับราชกาลจะต้องมีวิชาความรู้ชั้นสามัญและบวชเรียนในพระพุทธศาสนามาก่อนทรงสนับสนุนงานวรรณคดีอย่างจริงจัง รัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ซึ่งมีเวลา ๒๖ ปี มีความเจริญทางวรรณคดีเท่าเทียมกันกับยุคทองของวรรณคดี กวีมีทั้งบรรพชิตและฆราวาสชายและหญิง เจ้านายและสามัญชน
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
1 ความคิดเห็น:
ตรวจ Blog เรียบร้อยแล้วนะจ๊ะ
ออยล์จ้า
แสดงความคิดเห็น